รู้ทันโรคตับ
โภชนาการในผู้ป่วยโรคตับ
มาทำความรู้จักโรคตับแข็งกันก่อนดีกว่า
ตับมีหน้าที่ทำลายของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน โรคตับแข็งเป็นโรคเรื้อรับที่ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของตับ โดยปกติเนื้อตับจะนุ่ม แต่ถ้ามีอาการอักเสบ หรืออันตรายต่อตับเนื้อตับจะถูกทำลายกลายเป็นพังผืด ซึ่งจะทำให้ไปเบียดเนื้อตับที่ดีและทำให้เลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง ถ้ามีการทำลายเซลล์ตับอย่างเรื้อรัง จนมีพังผืดเกิดขึ้นมาก เนื้อตับที่เคยนุ่มจะค่อยๆ แข็งขึ้น จนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ส่งผลให้สมรรถภาพการทำงานของตับลดลงซึ่งนำมาสู่สุขภาพร่างกายแย่ลง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคตับแข็ง
ในระยะเริ่มแรก มักไม่มีอาการผิดปกติที่ชัดเจน อาจมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย ต่อมาจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง น้ำหนักตัวลด อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงขวาเล็กน้อย ตัวและตาเหลือง เนื้อจากตับไม่สามารถขับน้ำดี จึงมีการสะสมน้ำดีตามผิวหนังจนมีสีออกเหลืองๆ และยังทำให้มีอาการคันตามตัวได้ ความรู้สึกทางเพศลดลง ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง
ในระยะที่สอง เมื่อเป็นโรคตับแข็งอยู่หลายปี จะมีอาหารท้องมาน เท้าบวม พังผืดที่ดึงรั้งในตับก็จะมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ มีแรงดันในเลือดเพิ่มมากขึ้น เกิดการแตกแขนงเป็นเส้นเล็กๆ ซึ่งจะเปราะบาง และแตกได้ง่ายเห็นเป็นหลอดเลือดพองที่หน้าท้อง เกิดหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร ซึ่งอาจจะแตกทำให้อาเจียนเป็นเลือดสดๆ ทำให้เสียเลือดมาก อาจจะช็อกถึงตายได้
ในระยะสุดท้าย เมื่อตับทำงานไม่ได้ ที่เรียกว่าตับวาย ก็จะเกิดอาการทางสมอง ซึม เพ้อ ไม่ค่อยรู้ตัว จนหมดสติได้
จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร
menu arrowblue ในการวินิจฉัยแพทย์จะซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและตรวจร่างกาย เพื่อหาสิ่งที่แสดงว่าเป็นตับแข็งหรือไม่ เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องและเท้าบวม ฝ่ามือแดง มีจุดแดงตามตัว ตับมีผิวแข็งขรุขระ ขอบไม่เรียบ
menu arrowblue การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ ความผิดปกติที่อาจพบได้ คือ โปรตีนชนิด albumin ต่ำ มีการคั่งของน้ำดี อัลตร้าซาวด์พบตับมีขนาดเล็กลงและผิวขรุขระ บางรายอาจตรวจได้ด้วยเครื่องมือ FIBROSCAN หรือเจาะเนื้อตับ
เหตุใดผู้ป่วยตับแข็งจึงมีปัญหาด้านโภชนาการ
เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีอาการเบื่ออาหารร่วมอยู่ด้วย หรือรับประทานอาหารแล้วเกิดอาการแน่นท้องจากการมีน้ำในช่องท้องมากเกินปกติ
นอกจากนี้การดูดซึมอาหารต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารยังมีความบกพร่องร่วมกับการที่ตับทำงานไม่ดี จึงทำให้โปรตีนในเลือดลดต่ำลง การย่อยอาหารประเภทไขมันผิดปกติด้วย ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาด้านโภชนาการ
การเปลี่ยนแปลงของระบบเผาพลาญอาหารที่เกิดในภาวะตับแข็ง
ในผู้ป่วยตับแข็ง ต้องมีการระวังอย่างมาก เวลาอดอาหาร จะเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ แต่ถ้าได้อาหารมากเกินไป ก็จะเป็นเหตุให้เกิดระดับน้ำตาลสูงได้มาก
หลักการให้การเสริมภาวะโภชนาการแต่ผู้ป่วยตับแข็ง
menu row การเสริมภาวะโภชนาการ ในผู้ป่วยตับแข็งเริ่มต้นต้องให้พลังงานให้เพียงพอก่อน ถ้าผู้ป่วยเป็นตับแข็งขั้นแรก ให้คำนวณปริมาณพลังงานเหมือนคนปกติ คือวันละประมาณ 20-25 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ต่อวัน หากเป็นระยะสุดท้ายให้เพิ่มปริมารพลังงานอีกร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่ต้องการในคนปกติ
menu row กรณีที่ผู้ป่วยนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หรือกรณีที่มีภาวะขาดอาหารอยู่แล้ว กรรีเช่นนี้สามารถให้พลังงานได้ถึง 40 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กก.ต่อวัน โดยประมาณวันละ 2,000 – 2,400 กิโลแคลอรี โดยสัดส่วนอาหารยังคงให้ตามเดิมคือ ปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารเป็นแป้ง และอีกหนึ่งในสามเป็นไขมัน ส่วนที่เหลือเป็นโปรตีน
menu row กรณีที่ผู้ป่วยได้รับไขมันแล้วเกิดท้องเสีย วิธีแก้ไขคือ การให้น้ำมันชนิด medium chain triglyceride (MCT) โดยจะให้ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะในอาหารแต่ละมื้อ โดยใช้วิธีการปรุงร่วมกับอาหาร เช่น ใส่ลงไปในผัดผัก หรือใส่ในข้ามต้น 1 ช้อนชา เล็กน้อยแทนน้ำมันเจียว
ความสำคัญของอาหารโปรตีน
ในปัจจุบันนี้ การจำกัดโปรตีนในผู้ป่วยตับแข็งมี่ข้อบ่งชี้เพียงกรณีเดียวคือ ช่วงที่ผู้ป่วยต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากภาวะซึม สับสน
หากผู้ป่วยเป็นตับแข็งขั้นต้น ควรรับประทานเนื้อสัตว์ปริมาณประมาณเท่ากับ 1 ฝ่ามือของผู้ป่วยแต่ละรายในแต่ละวัน
หากผู้ป่วยเป็นตับแข็งระยะที่เป็นมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องรับประทานเนื้อสัตว์ปริมาณประมาณวันละ 2 ฝ่ามือของผู้ป่วยแต่ละราย หรือรับประทานเนื้อสัตว์วันละ 1 ฝ่ามือร่วมกับไข่มือละ 1 ฟอง
ข้อจำกัดของการให้โปรตีน
คือ ผู้ป่วยจะมีอาการอืด แน่ท้องมากขึ้น วิธีแก้ไขอันดับแรกคือ เปลี่ยนมับประทานโปรตีนจากพืชแทน แต่ข้อเสียของโปรตีนจากพืช คือ ต้องให้ปริมาณมากรสชาติไม่อร่อย รับประทานยาก และทำให้เกิดแก๊สในลำไส้มาก
โปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด คือ ถั่วเหลือง เช่นน้ำเต้าหู้ เต้าฮวย ขนมถั่วแปบ เป็นต้น โปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ดีคือ สาหร่าย
สำหรับการให้วิตามินและเกลือแร่
สิ่งที่ต้องระวัง คือ การให้ธาตุเหล็ก จะให้เฉพาะในรายที่ขาดเท่านั้น เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นตัวเร่งการเกิดพังผืดในตับ ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ควรให้วิตามินบีเสริมด้วยและเกลือแร่ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ สังกะสี ซึ่งมักจะขาดได้บ่อย โดยผู้ป่วยที่ขาดนั้นจะทำให้การรับรู้รสของลิ้นเสียไป จึงต้องมีการให้สังกะสีและวิตามินเสริม เพื่อเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยด้วย
สิ่งที่ต้องเน้นแก่ผู้ป่วยตับแข็งอีกอย่างหนึ่งคือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ถ้ารับประทานอาหารที่ไม่สุก ไม่สะอาด โดยเฉพาะอาหารทะเล จะเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง ซึ่งอาจทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
พญ. วิภากร เพิ่มพูล
อายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
และขอขอบคุณLink ที่ http://www.thai-otsuka.co.th/index.php/th/in/health-info-th/info-health2